รายละเอียดข่าว

เตรียมความพร้อมภาคีความร่วมมือโครงการ "กิน เปลี่ยน เมือง" จ.ศรีสะเกษ กับสุราษฎร์ธานี และลำปาง ( ตอนที่ 2 )

 วันที่ 30 ตุลาคม 2566   ช่วงเช้า  เดินทางไปศึกษาดูงานการผลิตข้าวสาร ของสหกรณ์การเกษตรเมืองศรีสะเกษ ผู้ที่จะผลิตข้าวมาตรฐานทั่วไป ( ไม่ใช่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์) ให้กับเครือข่ายในสุราษฎร์ธานี  และให้บริการรับจ้างผลิต ด้วย (การผลิตภายในแบรนด์ของลูกค้า)  และ  ร่วมประชุมกับ สภาเกษตรกร จังหวัดศรีสะเกษ  นำคณะฯโดย ผู้ช่วยฯ ชยพล ถิลา  นำเสนอโครงการฯ " กิน เปลี่ยน เมือง" ให้สมาชิกสภาเกษตรกรฯ รู้จัก ตั้งแต่ลงนาม MOU กับ สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เมื่อ 29 สิงหาคม 2565  จนมาถึง 30 ตุลาคม 2566 ระยะเวลา 14 เดือน (ตามรายละเอียดที่แจกในเอกสาร และไฟล์แนบ )

    ชุดปฏิบัติการทางสังคม " กิน เปลี่ยน เมือง" เริ่มที่จังหวัดภูเก็ต พัทลุง และชัยภูมิ  เป็นกลุ่มจังหวัดแรก  และ สุราษฎร์ธานี  ศรีสะเกษ ลำปาง เป็นกลุ่มจังหวัดที่ 2 เปิดตัวโครงการเมื่อ 26 กรกฎาคม 2566  ณ โรงแรมแก้วสมุย สุราษฎร์ธานี   โดยฝ่ายสุราษฎร์ธานี  มีสมาคมเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชน ในขบวนงาน พอช. ( สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ) และ บจก.ประชารัฐรักสามัคคีสุราษฎร์ธานี ( วิสาหกิจเพื่อสังคม) เป็นเจ้ภาพหลัก และได้ลงนาม MOU ระหว่าง สุราษฎร์ฯ กับ ศรีสะเกษ เมื่อ 26 กรกฎาคม 2566 แล้ว  โดยมี สำนักงานพาณิชย์ทั้ง 2 จังหวัด เป็นสักขีพยาน และเป็นกลไกสนับสนุน

     ช่วงบ่าย หลังจากจบการประชุมสมาชิกสภาเกษตรกร  คณะทำงาน " กิน เปลี่ยน เมือง" ศรีสะเกษ ทั้ง 5 ฝ่าย คือ  1.ฝ่ายสำนักงาน สกจ.ศรีสะเกษ   2.ฝ่ายผู้แทนกลุ่มอาชีพ ที่ประสงค์จะทำการต้าขาย  3. สำนักงานพาณิชย์จังหวัดศรีสะเกษ  4. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ศรีสะเกษ  5.สหกรณ์การเกษตร ( ผู้แทนจากสหกรณ์การเกษตรอำเภอเมืองศรีสะเกษ )  ได้ร่วมกันประชุมหารือ  โดยมีข้อสรุป เบื้องต้น ดังต่อไปนี้

     1.) มุ่งเน้นการเชื่อมโยงสินค้าชุมชนระหว่าง 3 จังหวัด  ( สุราษฎร์ธานี  ศรีสะเกษ และลำปาง ) ทุกชนิดที่มีศักยภาพ ผ่านกระบวนการพัฒนาตามระบบ VRIO ( คุณค่า/หายาก/ลอกเลียนแบบไม่ได้/บริหารการตลาดได้จริง )  โดยมี "ข้าวสาร"  "สินค้าอาหารทะเลแปรรูป" และ สินค้าอื่นๆที่ตกลงร่วมกัน 

      2.) ให้มีระบบตรวจสอบย้อนกลับ   การพัฒนาคุณภาพ มาตรฐาน  การจัดการข้อมูลสินค้า ทุกชนิด โดยกลุ่มฯ ในระบบ www.konnthai.com  และ www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com  เท่านั้น  จะไม่มีการซื้อขายนอกระบบของ 2 แพลตฟอร์ม   โดยมีระบบการบริหารรายได้ร่วมกัน  และการตั้งราคา ตามสัดส่วน ( ร่างเบื้องต้น) ในรูปแบบ  92:8  ที่กลุ่มผู้ขายสินค้าต้องดำเนินการ ( ค่าสินค้า ร้อยละ 92  ค่าบริหารแพลตฟอร์ม ( พอช.) ระบบการจ่ายเงินอัตโนมัติ ร้อยละ 3  ค่าแบ่งปัน เข้ากองทุนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ของกลุ่มผู้ซื้อ ร้อยละ 2  ค่านักจัดการตลาดร้อยละ 1 ค่าประชาสัมพันธ์ ร้อยละ 1  และค่าบริหารระบบ ร้อยละ 1 ( ในช่วงนี้ จนถึง 31 มกราคม 2567 จัดสรรให้ บ.SE ปากพนัง ในฐานะพี่เลี้ยงของขบวนองค์กรชุมชนบริหารแพลตฟอร์ม  ที่จะมารับช่วงต่อไป ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 )

     3.) การพัฒนาแบรนด์ร่วมกัน เพื่อรับประกันคุณภาพของสินค้า (ควบคู่กับแบรนด์ของกลุ่มเอง ) ของสินค้าขบวนองค์กรชุมชนทุกชนิดที่ผ่านการคัดกรองแล้ว  เพื่อสร้างอัตตลักษณ์ของสินค้าชุมชน บนแพลตฟอร์ม www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com 

     4.) ระบบการเงิน เป็นเงินสด จ่ายให้กลุ่มผู้ขาย ก่อนที่ผู้ขายจะผลิตและส่งสินค้า  โดยการโอนเงินค้าสินค้าเข้าบัญชีกลาง ของแพลตฟอร์ม บัญชีเดียว ( ช่วงนี้ จนถึง 31 มกราคม 2567  ใช้บัญชี บ.SE ปากพนัง  - รูปแบบ SCB Anywhere ) จากนั้นจะใช้บัญชีของเครือข่ายกลางบริหารแพลตฟอร์ม  ซึ่งจะตกลงร่วมกันระหว่างองค์กรชุมชน ผู้ผลิตและผู้บริโภค ในระหว่างนี้ให้พร้อม ก่อน 1 กุมภาพันธ์ 2567

     5.) การบริหารจัดการฐานข้อมูลครัวเรือน ในแพลตฟอร์ม อยู่ภายใต้กฏหมาย PDPA อย่างเข้มงวด 

        ทั้งนี้  ทาง บ.SE ปากพนัง  พอช.  สภาเกษตรกรแห่งชาติ  กองทุนฟื้นฟูฯ  โดยคณะแกนนำองค์กรชุมชนเป็นหลัก  มีเจ้าหน้าที่สำนักงานเป็น "พี่เลี้ยง" ใน 3 จังหวัด ( สุราษฎร์ธานี  ศรีสะเกษ ลำปาง ) จะนำผลสรุปจากการการประชุม ในวันที่ 29-31 ตุลาคม 2566 นี้ จัดประชุมวางแผนเชิงปฏิบัติการ ผ่านการประชุมออนไลน์ ร่วมกัน โดยด่วนต่อไป

    ณรงค์ คงมาก  รายงาน