รายละเอียดข่าว

เตรียมความพร้อมภาคีความร่วมมือโครงการ "กิน เปลี่ยน เมือง" และพัฒนาสินค้า จ.ศรีสะเกษ กับสุราษฎร์ธานี และลำปาง ( ตอนที่ 3 )

 ตลาดกลาง หอม กระเทียมพริก ในเมืองศรี  ยางชุมน้อย-ขุนหาญ-ภูสิงห์ : การเพิ่มมูลค่าผลผลิตเกษตร การใช้ฐานทรัพยากรชุมชน และการเข้ามาของสินค้าต่างประเทศ

     31 ตุลาคม 2566  คณะฯนำโดย ผช.ชยพล ถิลา จาก สกช. ลงพื้นที่ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสินค้าเพื่อนำขึ้นขายบน www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com  และ  www.konnthai.com  มีผลการศึกษา ที่น่าสนใน ดังนี้

  1.) ตลาดกลางหอม กระเทียม พริก ที่บ้านท่าเรือ ในเขตอำเภอเมือง  พบว่าเดือนนี้ ( ตุลาคม 2566 ) มีหอม กระเทียม จากต่างประเทศ มาขายจำนวนมาก ทั้ง พริกจากอินเดีย  หอมจากอินโดนีเซีย จีน  กระเทียม จากภาคเหนือ มีพ่อค้ารถเร่ มาซื้อไปขายทั่วประเทศ  กรณีนี้น่าสนใจ เรื่องการเข้ามาแย่งตลาด มาแข่งขันกับ หอม กระเทียม พริก พื้นถิ่นในจังหวัดศรีสะเกษ  ในเชิงนโยบาย เรื่อง " Save Guard"  ( การปกป้องสินค้าเกษตรไทย จากการเข้ามาทุ่งตลาด มาแข่งขันตลาด ในสินค้าชนิด ประเภทเดียวกัน ที่ทดแทนกันได้ อย่าง หอม กระเทียม พริก เป็นกรณีที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ ต้องเข้ามาศึกษาดู ผลกระทบ )  ในตลาดกลางนี้ ผู้ค้าทุกร้าน ทำตลาดออนไลน์ ควบคู่กันไปกับตลาดออฟไลน์ 

  2.) อำเภอยางชุมน้อย  คณะฯไปศึกษา การปลูกหอมแดง ซึ่งเริ่มลงมือปลูกแล้ว อายุเก็บเกี่ยวราว 58-60 วัน คาดว่า ปลายเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ หอมแดง ล็อตแรก ของอำเภอยางชุมน้อยแหล่งผลิตหอมแดงใหญ่ของจังหวัด จะออกสู่ตลาดแล้ว  เครือข่ายสุราษฎร์ธานี  สามารถวางแผน หาตลาดไว้ล่วงหน้าได้เลย   ซึ่งช่วงนี้ ( 1 พฤศจิกายน 2566 ) ควรเริ่มประชาสัมพันธ์ หาออเดอร์ ของฝั่งผู้บริโภคได้แล้ว ทั้งการปลีก และค้าส่ง

  3.) อำเภอขุนหาญ คณะฯไปเยี่ยมกิจการของ บริษัท พศช. ฯ ซึ่งมีสโลแกนว่า " พศช.ครบเครื่องเรื่องขนมจีน"  โดยท่านประธานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ นายเกษมศานต์ ศรีโพนทอง  ผู้บริหารบจก. พศช. ให้ข้อมูลว่า "บริษัทต้องใช้ข้าวสาร (ข้าวชัยนาท ข้าวเมล็ดส้ัน ข้าวเหลืองปะทิว ) วันละ ประมาณ 400 กระสอบ หรือ 40,000 กก. ทำงาน 26 วัน ใช้ข้าวประมาณ 1,040,000 กก. หรือ 1,040 ตันต่อเดือน หรือ  12,480 ตันต่อปี  หากผลผลิตข้าวชัยนาท อยู่ที่ 700 กก. ข้าวเปลือก ต่อไร่  ( ข้าวสาร ร้อยละ 60 ของข้าวเปลือก ) โรงงาน พอช.จะใช้พื้นที่นารองรับประมาณ  30,000 ไร่ ต่อปี เพื่อป้อนวัตุดิบ ให้โรงแป้ง   โดยในการดำเนินงานจริงขณะนี้  โรงแป้ง ซื้อปลายข้าวแบบหัก 2 ท่อน มาใช้ ในราคา กก.ละ 15 บาท มาใช้  หากมีการวางแผนการทำนา 30,000 ไร่ ป้อน พศช.โดยเฉพาะ ทาง พศช. ลองศึกษาดูว่า การลงทุนในกระบวนการส่งเสริมให้ชาวนาศรีสะเกษ ปลูกข้าวชัยนาท ป้อนให้โรงแป้งโดยตรง จะคุ้มค่ามั้ย  (โดยไม่ลงทุนโรงสี เพราะโรงสีในศรีสะเกษ พร้อมรับจ้างสีให้อยู่แล้ว) 

     การบริหารแบบใหม่ ของ พศช.กับเครือข่ายสมาชิกสภาเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ หรือจังหวัดใกล้เคียง ปลูกข้าวให้ พศช. โดยตรง จะเป็นไปได้ในระดับไหน อย่างไร  และมีเงื่อนไข ที่จะทำได้ หรือ ทำไม่ได้

    สำหรับสุราษฎร์ฯ ในเรื่องแป้งขนมจีน เพื่อเชิ่อมโยงตลาดกับ พศช.ศรีสะเกษ เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ บ.ประชารัฐรักสามัคคี สุราษฎร์ฯควรศึกษา ความเป็นไปได้ เช่นกัน  หากฝ่าย พศช. ไม่มีการแบ่งโซนตลาดแป้งกับโรงผลิตขนมจีนในภาคใต้  แป้งขนมจีน จะเป็นอีกสินค้าที่เกิดจากฐานคิด เกษตรอุตสาหกรรมของชาวนาและผู้ประกอบการ ที่เข้ามาในโครงการ  กิน เปลี่ยน เมือง  ได้?

  4.) อำเภอภูสิงห์  เป็นพื้นที่ ผลิตนำ้ผึ้งป่าแท้ วนาสวรรค์ ในตำบลไพรพัฒนา โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนภูสิงห์  และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เป็น"แกนนำ" หลักในการร่วมพัฒนา สินค้านำผึ้งป่า ที่นี่ มีจุดเด่น คือ มีการนำเทคโนโลยีผสมผสานระหว่างการ "ล่อและเลี้ยง" เข้าด้วยกัน โดยชุมชนจะนำกล่อง ไปล่อผึ้งโพรงจากป่าเข้ามาในกล่อง  และนำกล่องที่มีผึ้ง อยู่แล้ว ไปวางในสวนยางพารา ที่มีเจ้าของ ไม่ไกลจากป่า เลี้ยงจนถึงเดือนสี่ เดือนห้า ก็จะเก็บน้ำผึ้ง ลงขวด โดยเฉลี่ย ผึ้งโพรง 1 กล่อง จะได้น้ำผึ้ง 3 ขวด ราคาขายขวดละ 400 บาท ก็จะมีรายได้ กล่องละ 1,200 บาท  หากเลี้ยง 100กล่อง ก็จะได้น้ำผึ้งราว  120,000 บาท ต่อปี ต่อครอบครัว  โดยใช้ต้นทุนการทำกล่อง (ราว 100 บาท ) และแรงงาน ตนเอง เท่านั้น

     นอกจากขายน้ำผึ้งบบรรจุขวดแล้ว  ยังสามารถขาย "ฟีโรโมน" ล่อผึ้ง ก่อนน้ำผึ้ง สำหรับทากล่อง  และขายกล่องเลี้ยงผึ้ง ได้ด้วย ทั้งทางออนไลน์ และ ออฟไลน์

     สำหรับสุราษฎร์ธานี และ ลำปาง ซึ่งมีสมาชิกที่ตั้งถิ่นฐาน บ้านเรือน อยู่เขตพื้นที่ใกล้ป่าอนุรักษ์จำนวนมากเช่นกัน  สามารถนำ "ความรู้และทักษะ" การ "ล่อ-เลี้ยง" ผึ้งโพรง จากป่า มาเลี้ยงในกล่อง ในสวน ได้หรือไม่? เป็นความท้าทายที่น่าศึกษา

     โดยสรุป  : สินค้า   9  ชนิด ได้แก่  แป้งขนมจีน   หอม กระเทียม พริกแห้ง น้ำผึ้ง  ข้าวหอมมะลิอินทรีย์  ข้าวหอมมะลิทั่วไป  โคขุน (ตัวโคมีชิวิต) และ เนื้อโคขุน  เป็นต้น  จากศรีสะเกษ สามารุถเชื่อมโยงตลาดแกลเปลี่ยน  "ภายในขบวนองค์กรชุมชนด้วยกันเอง" ของ 3 จังหวัด ได้หรือไม่ ?  และสินค้าอีก 2 จังหวัด (สุราษฎร์ธานี  และ ลำปาง ) จะมีชนิดใด มาเพิ่มในการแลกเปลี่ยน ในระบบนิเวศเศรษฐกิจชุมชนเกื้อกูล ได้ตามเป้าหมายของสภาเกษตรกร  กองทุนฟื้นฟูเกษตรกร และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช.) 

   ณรงค์ คงมาก  รายงาน