รายละเอียดข่าว

การค้าข้าวสารของกลุ่มผู้ชาวนา "ผู้ขาย" กับ กลุ่มองค์กรชุมชน "ผู้ซื้อ" ผ่านแพลตฟอร์ม www.konnthai.com (ขายส่ง) และ www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com ( ขายปลีก)

การค้าขายข้าวสาร ระหว่าง "กลุ่มชาวนา ที่มีโรงสีแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร"  กับ กลุ่มองค์กรชุมชนผู้บริโภค  เช่น กลุ่มสวัสดิการชุมชน  ผ่านแพลตฟอร์ม www.konnthai.com  แบบค้าส่ง  และ ผ่าน แพลตฟอร์ม www.ตลาดนัดองค์กรชุมชน.com แบบค้าปลีก  นั้น  เป็น กรณีศึกษา "แทนการบริหารจัดการ ตามแนวทางตลาดสีขาว ของเรา  โดยเรา เพื่อเรา นำส่วนแบ่งค่าการตลาดมาจัดตั้งกองทุน "พัฒนาคุณภาพชีวิตดี ที่ออกแบบได้"

    ค่าการตลาด ที่เกิดจากการขายสินค้าและบริการระหว่างชุมชนกับชุมชนนั้น   เกิดจาก "การลดช่วงชั้นของตนเกลางลง  โดยใช้ระบบงานของแพลตฟอร์มเข้ามาแทน"  ซึ่งระบบงานของแพลตฟอร์มที่เข้่ามาแทนคนกลาง ในบาง "ช่วงชั้น" นั้น  บางแพลตฟอร์มที่ลงทุนหนักตามแนวทางแห่งโลกทุนนิยม ก็เรียกเก็บค่าบริการ "อย่างแพง" ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของราคาสินค้าที่โพสต์ขายผ่านระบบของเขา  บางแพลตฟอร์ม "ปล่อยให้ขายฟรี" จนขายดี  ก็หันมาเรียกเก็บค่าธรรมเนียม  เหมือนกับคำพูดที่ว่า " ไม่มีของฟรีในโลก"

     สำหรับ 2 แพลตฟอร์ม  และระบบตลาดสีขาวที่กล่าวข้างต้น นั้น หนึ่งแพลตฟอร์ม พัฒนาโดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชนของรัฐ  มีค้าใช้จ่ายเพียง "ค่าทีมบริหารแพลตฟอร์ม ซึ่งต่องเรียกเก็บจากผู้ใช้แพลตฟอร์ม แต่ในอัตราราคาไม่แพง  เช่น ร้อยละ 1 หรือ 2 ของราคาสินค้าที่อัพขายบนแพลตฟอร์ม   อีกแพลตฟอร์ม  www.konnthai.com ใช้รองรับงานค้าส่ง พัฒนาโดย บ.SE ปากพนัง คิดค่าบริการเพียงร้อยละ 1 ของมูลค่า การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านแพลตฟร์ม

    โดย 2 แพลตฟอร์ม  ยึดหลักการให้บริการแก่ขบวนองค์กรชุมชน และผู้ประกอบการที่ยึดหลัก การค้าที่เป็นธรรมหรือ แฟร์เทรด  ให้ฝ่ายกลุ่มผู้ขายและผู้ซื้อ   โดยออกแบบให้กลุ่มผู้ขาย จ่ายค่าส่วนต่างการตลาด เข้าสู่กองทุน "พัฒนาคุณภาพชีวิตดีที่ออกแบบได้" ของกลุ่มฝ่ายผู้ซื้อ  เช่น สัดส่วน 92:8 สำหรับการค้าปลีก  และ สัดส่วน 96:4 สำหระบการค้าส่ง

    ในสัดส่วน ร้อยละ 8  จากระบบค้าปลีก  นั้น และสัดส่วน ร้อยละ 4  จากระบบการค้าส่ง  ต่างก็จ่ายให้ระบบงานบริหารแพลตฟอร์ม หรือ บ.SE ปากพนัง ในสัดส่วน ร้อยละ 1 เท่านั้น

   ส่วนที่เหลือ ร้อยละ 7  และ 3 น้่น คืนกลับให้กลุ่มผู้ซื้อ  และผู้ขาย 

  ซึ่งต่างจาก แพลตฟอร์ม อีมาร์เก็ตติ้ง ยักษ์ใหญ่ทั้งหลาย ( ส่วนใหญ่เป็นของต่างชาติ)  คิดค่าให้บริการแพง 

   แนวทาง ของ บ.SE ปากพนัง  และ พอช. เจ้าของแพลตฟอร์ม ก็ประกาศนโยบายของการให้บริการการขายและการตลาดสินต้าของขบวนองค์กรชุมชน ไว้อย่างชัดเจน

    ทั้งนี้ โครงการกินเปลี้่ยนเมือง ที่เริ่มดำเนินงานใน 6 จังหวัด บริหารตลาดแบบผสม ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ก็นำหลักการบริหารดังกล่าวไปประยุกต์ใช้  

    "การประยุกต์ใช้แพลตฟอร์ม ทั้ง 2  การตลาดสีขาว การจัดสรรค่าการตลาดส่วนเหลือ ให้กับกลุ่มผู้ขาย ผู้ซื้อ แบบเปิดเผย โปร่งใส ทุกอบ่างผ่านแพลตฟอร์ม เพื่อให้ เกษตรกรและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ในสถานะหน่วยงานรัฐ องค์กพัฒนาเอกชน ผู้ผลิต ผู้บริโภค      ต่างรับทราบข้อมูล "เท่าเทียมกัน"  

    ณรงค์ คงมาก  รายงาน