รายละเอียดข่าว

10ปัญญาปฏิบัติ : ตอบคำถาม ทำไมเกษตรกรต้องริเริ่มการส่งออกด้วยตนเอง

10 ปัญญาปฏิบัติ : ตอบคำถามทำไมกลุ่มเกษตรกรต้องริเริ่มการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์แปรรูปด้วยตนเอง ?

  1. เกษตรกร สามารถกำหนดราคาขายผลผลิตให้ตนเอง “อยู่ได้”  (ไม่ใช่อยากได้) ออกจากวงจรความเสี่ยงวงจรการ”ขาดทุน” เพราะราคาส่งออกด้วยตนเอง ตัดขั้นตอน “คนกลาง”ออกไปหลายช่วงชั้น

  2. ในยุคดิจิทัล เกษตรกรรุ่นใหม่ และภาคีนักการตลาดด้วยแพลตฟอร์มดิจิทัล สามารถออกแบบให้มีระบบตลาดดิจิทัลจำหน่ายสินค้าเกษตรได้ทั่วโลก ทั้งค้าปลีก ค้าส่ง แบบตลาดล่วงหน้า หรือ ตลาดผลิตตามสั่งล่วงหน้าได้

  3. เกษตรกรสามารถบริหาร “ต้นน้ำ” ด้วยระบบ ERP ( การวางแผนจัดการผลิต ) ได้อย่างมีประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ รองรับตลาดแบบพันธสัญญา โดยทุกฝ่ายสามารถเข้าถึงสภาวการณ์การผลิตได้แบบเรียลไทม์ แม้ว่าจะเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรุนแรงมากขึ้น

  4. การทำงานแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ กับฝ่ายการขาย การตลาด การชำระเงินล่วงหน้า  การรับประกันการส่งมอบสินค้า การประกันความเสี่ยงด้านภับต่างๆ โดยรวมเป็นต้นทุนฝยกระบวนการผลิตสินค้า

  5. เกษตรกรต้องเริ่มทำบัญชีฟาร์มอย่างจริงจังเปิดเผย เพื่อเข้าสู่ยุคสมัยการค้าสินค้าเกษตรเพื่อสุขภาพ&สิ่งแวดล้อม ที่เป็นธรรม กับทุกฝ่ายและกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน

  6. สภาวะหนี้สินและความเสี่ยง ที่จะ “ชำระหนี้สินไม่ได้” ของเกษตรกรไทยนับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้น ส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง และจะทำให้เกษตรกรรายย่อย “เสี่ยงต่อการสูญเสียที่ดิน”ที่เป็นหลักค้ำประกันเงินกู้

  7. เทคโนโลยีการตรวจสอบ การจัดเกรด จัดขั้นคุณภาพมาตรฐานสินค้า ทันสมัยมากขึ้น เกษตรกรและผู้ประกอบการ สามารถจัดการ “การส่งมอบสินค้าตรงปก” อย่างแม่นยำ และมีระบบ “ผู้ตรวจรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้า” ก่อนการส่งมอบจริง อย่างเป็นระบบ และมีความรับผิดชอบ แบบ MBG  ( Money Back Guarantee )

  8. ระบบการชำระเงินแบบ E-Payment  Gateway  ( การับจ่ายเงินแบบอัตโนมัติ) และการรับคุมครอง การประกันการชำระเงินแบบล่วงหน้าของการค้าระหว่างประเทศ มีความทันสมัยและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น มีความเสี่ยงลดลง  ตราบที่สินค้ามาคุณภาพมาตรฐาน “ตรงปก” ตามข้อตกลงก่อนการส่งมอบ

  9. วิกฤตอาหารของโลกรุนแรงมากขึ้น เป็นโอกาสของเกษตรกรผู้ผลิต ที่จะลุกขึ้นมาบริหารจัดการการส่งออกด้วยตนเองร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรและกระบวนการ OEM ( รับจ้างบรรจุภัณฑ์และแปรรูปวัตถุดิบการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่า )  โดยภาคเกษตรกรไม่ต้องเข้ามาบริหารจัดการห่วงโซ่ ทั้งระบบด้วยตนเอง

10.บริษัทวิสาหกิจเพื่อสังคมเกษตรกรลุ่มน้ำปากพนัง จำกัด ( บ.SE ปากพนัง ) ได้พัฒนาและวางแผนออกแบบแพลตฟอร์ม รองรับการผลิต  การทำบัญชีฟาร์ม การค้า การตลาดแบบล่วงหน้า ไว้แล้ว  ร่วมกับ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช.) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย  ( Exim Bamk ) และมี MOU ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ  สามารถสร้าง “ตัวแบบ” การส่งออกด้วยเกษตรกรเองได้แบบโมเดล “ Snow Ball